
SME ควรบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างไร?
เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) คือ เงินทุนที่ธุรกิจใช้ในการดำเนินงานในแต่ละวัน ก่อนได้รับเงินสดจากการขายสินค้าและบริการหรือลูกหนี้การค้า ซึ่งเปรียบเสมือน “น้ำมันหล่อลื่น” ที่มีความสำคัญสำหรับธุรกิจ SME อย่างมาก ในการสร้างความมั่นใจว่าธุรกิจมีเงินทุนเพียงพอ ที่จะดำเนินได้อย่างไม่สะดุด

เรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับเงินทุนหมุนเวียน คือ ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจความต้องการทางการเงินในแต่ละวันของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งมีความสำคัญต่อการเติบโต และมีความสำคัญอย่างมาก อย่างเช่น
- นำไปสู่กำไรที่เพิ่มขึ้น
- ปรับปรุงสภาพคล่องของบริษัท
- รักษาการผลิตและการดำเนินงาน
- กำหนดวิธีในการจัดหาเงินทุน
- ปรับปรุงการชำระหนี้และเครดิตของบริษัท
- ช่วยให้ธุรกิจได้เปรียบในการแข่งขัน
- เตรียมพร้อมธุรกิจเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรือหยุดชะงัก
โดย เงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน – หนี้สินหมุนเวียน ผลลัพธที่ได้จะสามารถวัดสภาพคล่องของธุรกิจในระยะสั้นและบ่งบอกว่าธุรกิจมีความสามารถสำหรับการใช้จ่ายในแต่ละวันและสามารถชำระหนี้ได้เมื่อถึงกำหนดการหรือไม่ ถึงแม้ว่าภาพรวมจะดูค่อนข้างง่าย แต่หากเจาะลึกลงไปการจัดการเงินทุนหมุนเวียนก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนเลยก็ว่าได้ แล้วจะทำอย่างไรให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นได้ เราไปดูกันเลยดีกว่า
6 วิธีในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน
6 วิธีที่ธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้ได้ ซึ่งผู้ประกอบการควรบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้ดี ทั้งด้านการขายสินค้าและการบริหารลูกหนี้การค้า ให้รายรับที่เข้ามามีความสมดุลกับต้นทุนในการบริหารธุรกิจ เพื่อลดปัญหาติดขัดทางธุรกิจ

1. เพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจไม่จำเป็นต้องรวบรมข้อมูลทุกอย่างด้วยตนเอง เพราะคุณสามารถใช้ประโยชน์จากระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในแง่กระบวนการทำงานแทนระบบกระดาษแบบเดิม ๆ เช่น การออกใบแจ้งหนี้ ระบบการชำระเงิน วิธีที่จะทำให้คุณสามารถแน่ใจว่าลูกหนี้ของคุณตรงเวลาเสมอ การใช้ประโยชน์จากระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกจะช่วยให้คุณสะดวกขึ้น และมีเวลาในการทำงานที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
2. กำหนดเงื่อนไขเครดิตของลูกหนี้การค้า
ประเมินสัญญากับลูกหนี้อีกครั้งและกำหนดนโยบายบริหารลูกหนี้ เช่น ระยะเวลา เงื่อนไขการขายเชื่อ วิธีการควบคุมการขายเชื่อและมาตรการแก้ปัญหา บังคับใช้เรื่องการชำระเงินล่าช้าอย่างเข้มงวดเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีในการรับเงินตรงเวลา การขาดการจัดการในเรื่องลูกหนี้การค้าจะส่งผลเสียต่อกระแสเงินสด และธุรกิจควรทบทวนและตรวจสอบเครดิตเป็นประจำ
3. หลีกเลี่ยงการสต็อกสินค้าที่มากเกินไป
แม้ว่าสินค้าในคลังสินค้าจะเป็นสินทรัพย์ แต่ก็มีการจำกัดกระแสเงินสดมากเกินไป ดังนั้นผู้ประกอบการต้องบริหารสินค้าคงคลังให้ปริมารณพอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป เงินลงทุนจะได้ไม่จมอยู่กับสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง จากเครื่องมือจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีสินค้าพร้อมขายแก่ลูกค้าทันท่วงที
4. รีบขายสินค้าที่มีอยู่ในสต็อกเป็นเงินสดให้ได้
การขายสินค้าที่มีอยู่ในสต็อก จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีรายได้ในการหมุนเวียนธุรกิจต่อไปได้ อีกทั้งการมีสต็อกสินค้าที่มากเกินไปอาจทำให้สินค้าเสื่อมสภาพหรือล้าสมัยจนไม่สามารถขายได้และเกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้ามากขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ดังนั้นผู้ประกอบการควรวางแผนการตลาด เพื่อให้สินค้าเกิดการซื้อขายด้วยเงินสดได้มากและไวที่สุด
5. ใช้บริการซื้อก่อนค่อยจ่ายทีหลัง
เพราะผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ก็ต้องการบริหารสภาพคล่องทางการเงินทั้งนั้นสำหรับคู่ค้าที่ทำธุรกิจด้วยกันมานานแล้ว การขอเครดิตก่อนแล้วจ่ายทีหลังเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งในปัจจุบันได้มีบริการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง หรือ Buy Now Pay Later (BNPL) ที่ได้รับความนิยมในบริโภคซื้อขายในโลกออนไลน์ เพราะผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ให้ธุรกิจ SME ทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น สามารถผ่อนชำระแบบรายเดือนหรือเป็นงวด ทำให้บริหารกระแสเงินสดได้ดียิ่งขึ้น มีสภาพคล่องในเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น
6. สร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้การค้าชำระเงินเร็วขึ้น
สำหรับธุรกิจที่มีลูกหนี้การค้า ความเร็วความช้าในการจ่ายชำระเงินของลูกหนี้การค้าก็ส่งผลต่อธุรกิจของเราด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องพยายามให้คู่ค้าชำระเงินให้ตรงเวลา หรื การให้เครดิตกับคู่ค้าจึงเพื่อสร้างแรงจูงใจ เช่น ทำข้อเสนอหรือเงื่อนไขพิเศษบางอย่าง เช่น ให้ส่วนลดกับลูกหนี้ 1 – 2% หากลูกหนี้การค้าชำระหนี้เร็วขึ้น หรือลูกหนี้ที่ไม่มีประวัติการผิดนักชำระหนี้ ฯลฯ
เงินทุนหมุนเวียนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะละเลยไม่ได้ ธุรกิจต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีความคล่องตัว โดยอาศัยเทคนิคต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ธุรกิจในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ต้องศึกษา ตามทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและนำมาปรับใช้ประโยชน์กับธุรกิจ ภาวการณ์แข่งขันทางการตลาดและ สภาวะแวดล้อมอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ Credit OK จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณสามารถนำไปพิจารณาได้ นั่นก็คือ
1) วงเงินซื้อสินค้า “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ที่จะช่วยให้ SME สามารถเปิดวงเงินเครดิต เพื่อซื้อสินค้ากับผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายที่เป็นพันธมิตรของ Credit OK ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น SCG Makro Bridgestone Plastket BIG TH ฯลฯ ที่จะทำให้ธุรกิจของคุณสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้น
2) SME All Protect ประกันภัยสำหรับธุรกิจ เพราะทุกธุรกิจมีความเสี่ยง Credit OK จึงอยากให้คุณมีหลักประกันคุ้มครองธุรกิจ โดยที่คุณไม่ต้องควักเงินทุนออกมาเป็นค่าใช้จ่ายกับเหตุการณ์ที่ธุรกิจไม่คาดคิด
เพราะการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ดี จะส่งผลดีต่อสภาพคล่อง ความเสี่ยงและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ
หากสนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินของ Credit OK สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.creditok.co