ประกันภัย สินเชื่อ OK Partner บทความ วงเงิน

เช็คลิส 5 ข้อต้องรู้ ก่อนเริ่มทำ “ประกันธุรกิจ SME”

เช็คลิส 5 ข้อต้องรู้ ก่อนเริ่มทำประกันธุรกิจ SME

เช็คลิส 5 ข้อต้องรู้ ก่อนเริ่มทำประกันธุรกิจ SME

หากธุรกิจอยากเลือกที่จะลงทุนกับอะไรสักอย่าง ในยุคที่อะไรๆ ก็ไม่แน่ไม่นอนและมีความเสี่ยงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา วันนี้ Credit OK อยากแนะนำให้คุณลงทุนกับการประกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ธุรกิจมั่นคง สามารถดำเนินต่อไปได้ แม้ต้องเผชิญกับวิกฤติ โดยหลักประกันนั้นก็คือ “ประกันธุรกิจ SME” หรือ “ประกันอัคคีภัยร้านค้า” 

ซึ่งสำหรับธุรกิจ SME แล้ว การจะเริ่มหาประกันภัยดีๆ สักตัวนั้นเป็นอะไรที่ต้องค่อนข้างใช้เวลาทำความเข้าใจเพราะความคุ้มครองประกันภัยมีความยุ่งยากซับซ้อน หรือไม่เข้าใจว่าเลือกความคุ้มครองประกันภัยที่เพียงพอต่อความจำเป็นหรือไม่ อีกทั้งค่าเบี้ยประกันธุรกิจ SME หรือประกันอัคคีภัยร้านค้านั้นอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SME จำนวนมากไม่มีความเข้าใจในการจัดการความเสี่ยงอย่างถูกต้อง วันนี้ Credit OK อยากชวนผู้ประกอบที่ต้องการหรือมีความสนใจในประกันธุรกิจ SME มาลองเช็คลิส 5 ข้อต้องรู้ก่อนเริ่มทำประกันธุรกิจ SME กันค่ะ 

1. ความน่าเชื่อถือของบริษัท

ความน่าเชื่อถือของบริษัทในการทำประกันธุรกิจ SME

ความน่าเชื่อถือของบริษัท  เปรียบเสมือนการรับประกันตัวตนของบริษัทประกัน ว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาเราจะได้รับความคุ้มครองตามสัญญาที่ตกลงกันไว้  เลือกที่จะฝากความเสี่ยงและความอุ่นใจของเราให้ใครดูแล  บริษัทที่มีความมั่นคงจะจ่ายเงินค่าสินไหมได้รวดเร็วเพื่อรักษาชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของลูกค้าเอาไว้ การเลือกทำประกันจึงควรเลือกทำกับบริษัทที่มีความมั่นคงทางการเงินสูง มีความแข็งแกร่งพอที่จะจ่ายเงินชดเชย เพื่อให้เราไม่ต้องประสบปัญหาการจ่ายเงินล่าช้า หรือไม่จ่ายเลยของบริษัทประกัน 

2. ศึกษาและทำความเข้าใจประเภทกรมธรรม์ที่จะซื้อ

ศึกษาและทำความเข้าใจประเภทกรมธรรม์ที่จะซื้อ ก่อนทำประกันธุรกิจ SME

เนื่องจากประกันธุรกิจ SME ของแต่ละบริษัท อาจมีเงื่อนไขในการรับประกันที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากในการที่เราจะศึกษาข้อมูลกรมธรรม์ เพื่อเข้าใจถึงความคุ้มครองที่เราจะได้รับว่าตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ อย่างเช่น

  • ประเภทของธุรกิจที่บริษัทรับประกันภัย
  • พื้นที่ภายในอาคาร จำนวนชั้นหรือจำนวนคูหา
  • สัดส่วนและลักษณะของสิ่งปลูกสร้างเป็นตึก คอนกรีตหรืออื่นๆ  
  • ธุรกิจอยู่ในพื้นที่ความเสี่ยงภัยน้ำท่วมของบริษัทประกันภัยหรือไม่
  • ประเภทของสินค้าที่ไม่รับประกันภัย

รวมถึงหลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกัน ซึ่งบริษัทประกันจะจ่ายให้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้ทำประกันไว้ เพื่อจะเป็นแนวทางในการสำรวจความเสี่ยงภัยต่างๆ หรือมูลค่าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย

3. สำรวจความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจต้องเผชิญ 

สำรวจความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจต้องเผชิญ ก่อนการทำประกันธุรกิจ SME

สาเหตุของความเสียหายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่มากก็น้อย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจาก

  • ภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแผ่นดินไหว ภัยลมพายุ ฟ้าผ่า ภัยลูกเห็บ ภัยน้ำท่วม ภัยเนื่องจากน้ำ เป็นต้น
  • ภัยจากการกระทำของมนุษย์ เช่นภัยระเบิด ภัยจากควัน ภัยอากาศยาน ภัยจากยวดยานพาหนะ รวมถึง ภัยจากการนัดหยุดงาน การจลาจล เป็นต้น

4. คำนวณทุนประกันภัยตามมูลค่าทรัพย์สิน

คำนวณทุนประกันภัยตามมูลค่าทรัพย์สินสำหรับประกันธุรกิจ SME

ก่อนจะตัดสินใจซื้อ “ประกันธุรกิจ SME” หรือ “ประกันอัคคีภัยร้านค้า” ธุรกิจต้องประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกันภัยในร้านค้า การทำประกันธุรกิจ SME ควรทำให้ครอบคลุมมูลค่าร้านค้าและทรัพย์สินภายในร้าน แต่ก็ไม่ควรทำประกันเกินมูลค่าร้านและทรัพย์สินภายในร้าน โดยสัดส่วนความคุ้มครอง จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก นั่นก็คือ

1. สิ่งปลูกสร้าง สิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างมีลักษณะเป็นคอนกรีตหรือไม้เป็นสัดส่วนเท่าไหร่  โดยที่ไม่รวมรากฐานของสิ่งปลูกสร้าง

2. ทรัพย์สินอื่นๆ อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์, เครื่องมือ, เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ

3. สต็อกสินค้าภายในร้านค้า สัดส่วนการรับประกันมูลค่าสต็อกสินค้าของแต่ละบริษัทจะให้ไม่เท่ากันหรือบางบริษัทก็ไม่ได้รับประกันมูลค่าสต็อกสินค้าภายในร้านเลย เป็นส่วนที่ต้องดูให้รอบคอบ

สมมติว่า สิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดินมีมูลค่า 5,000,000 บาท โดยแบ่งเป็น

  • ที่ดินมูลค่า 2,000,000 บาท 
  • สิ่งปลูกสร้างมูลค่า  3,000,000 บาท

ทุนประกันอัคคีภัยที่ครอบคลุมมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง เท่ากับ 3,000,000 บาท แต่ความคุ้มครองนี้ยังไม่ครอบคลุมกับทรัพย์สิน เฟอร์นิเจอร์และสต็อกสินค้า หากเกิดความเสียหายเฉพาะเฟอร์นิเจอร์เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ ดังนั้น ผู้เอาประกันจึงต้องอย่าลืมคำนวณในส่วนของทรัพย์สินอื่นๆ และสต็อกสินค้า เช่น

  • ทุนประกันเฟอร์นิเจอร์และทรัพย์สินอื่นๆ ภายในร้านมูลค่า 1,000,000 บาท 
  • ทุนประกันสต็อกสินค้ามูลค่า 500,000 บาท 

ดังนั้น ทุนประกันอัคคีภัยตามมูลค่าทรัพย์สิน เท่ากับ 4,500,000 บาท

5. กำหนดเงินเอาประกันภัยที่เหมาะสม

กำหนดเงินเอาประกันภัยที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจ SME

ประเมินว่าธุรกิจของคุณมีจำนวนทุนประกันภัยเท่าไหร่เพื่อกำหนดเงินเอาประกันภัยที่เหมาะสม เพราะหากเกินความเสียหายขึ้นมา เราจะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าความเสียหายจริงเท่านั้น โดยเงินเอาประกันภัยที่เหมาะสมนั้นไม่ควรทำประกันอัคคีภัยร้านค้าต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งบริษัทประกันจะจ่ายให้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้ทำประกันไว้ ซึ่งประกันอัคคีภัยร้านค้าควรทำให้ครอบคลุมมูลค่าอาคาร สิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินภายในร้าน ดังนั้น จึงไม่ควรทำประกันเกินมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สินหรือสต็อกสินค้า เพื่อที่จะได้รับเงินชดเชยเมื่อเกิดการสูญเสียที่เหมาะสม เมื่อธุรกิจขาดกำลังสำคัญในการหารายได้ เงินจำนวนนี้จะเป็นเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงธุรกิจในดำเนินต่อไปได้ระยะหนึ่ง นอกจากนี้หากผู้เอาประกันภัยไม่ได้ทำประกันธุรกิจ SME หรือประกันอัคคีภัยร้านค้าแค่ที่เดียว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดหรืออัคคีภัย ทั้ง 2 บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนรวมกันไม่เกินมูลค่าความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น  ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินเท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

ยกตัวอย่างเช่น ผู้เอาประกันได้ทำประกันกับบริษัท A ทุนประกัน 1,000,000 บาท และได้ไปทำประกันกับบริษัท B เพิ่มอีก 1,000,000 บาท มีทุนประกันรวม 2,000,000 บาท

หากเกิดอัคคีภัยประเมินความเสียหายได้ 500,000 บาท กรณีนี้บริษัท A และบริษัท B จ่ายค่าสินไหมทดแทนรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินเท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่บริษัทละ 500,000 บาท ดังนั้น การทำประกันเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินเป็นการเสียค่าเบี้ยประกันที่เกินความจำเป็น ทำให้ผู้เอาประกันอัคคีภัยเสียเบี้ยประกันภัยโดยเปล่าประโยชน์

การทำประกันธุรกิจ SME เป็นการวางแผนเพื่อป้องกันความเสี่ยงสำหรับการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่คาดคิด

อีกทั้งกรมธรรม์ที่ซื้อไว้ถือเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงหลักทรัพย์หรือความมั่นคงทางสถานะภาพการเงินของ  เพราะหากเกิดเหตุการณ์นั้นอาจส่งผลกระทบทางการเงินของธุรกิจได้ เมื่อทำประกันคุ้มประกันที่คุ้มครองธุรกิจ SMEหรือคุ้มครองร้านค้าแล้ว ผลกระทบของเหตุการณ์เหล่านั้นจะไม่ส่งผลให้กิจการหยุดชะงักหรือสูญเสียความต่อเนื่องในการเดินหน้าต่อไปตามปกติ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่ทุกธุรกิจ ควรพิจารณาทำประกันธุรกิจ SME หรือประกันอัคคีภัยร้านค้า สุดท้ายแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออย่าลืมอ่านกรมธรรม์อย่างละเอียดก่อนที่จะทำทุกครั้งก่อนทำประกันภัย อย่าปล่อยให้สิ่งที่ไม่คาดคิดเป็นเหตุที่ทำให้ธุรกิจของคุณสะดุด มป้องธุรกิจของคุณได้ด้วย SME All Protect แพ็กเกจคุ้มครองธุรกิจ ที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าไฟไหม้หรืออัคคีภัย ออกแบบมาเพื่อ SME โดยเฉพาะ  ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ SME All Protect เพิ่มเติมได้ในบทความทำประกันอัคคีภัย ที่ไหนดี? ‘SME All Protect’ คุ้มครองได้มากกว่าไฟไหม้

สนใจแพ็กเกจคุ้มครองธุรกิจ SME All Protect ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.creditok.co/sme-all-protect Credit OK พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำประกันธุรกิจ SME ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ Line : @creditok